ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

แนวคิดของรัฐบาลและกรมตำรวจในการจัดตั้ง ตชด. ก็เพื่อเสริมกำลังตำรวจภูธรในการรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนและป้องกันการรุกรานของคอมมิวนิสต์ ประหยัดกำลังการใช้กำลังทางทหารในยามปกติรักษาสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน ฝึกกำลังตำรวจเพื่อทำหน้าที่คล้ายทหารและทำการฝึกแบบทหารในการต่อต้านคอมมิวนิสต์
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งตำรวจตระเวนชายแดนเป็นการเตรียมกำลังให้พร้อม เพื่อที่จะปฏิบัติการต่อต้านการรบนอกแบบโดยเฉพาะการรบแบบกองโจรเป็นการเตรียมกำลังตำรวจให้พร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติการของกองทัพอื่นๆได้ทันที
รัฐบาลได้พิจารณาจัดตั้งหน่วยตำรวจตระเวนชายแดนขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๘๕ เป็นตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อเป็นกำลังเสริม แทนการใช้กำลังทหาร ในการรักษาความสงบตามแนวตะเข็บชายแดน อันเนื่องจากสนธิสัญญากรุงเจนีวา ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส กำหนดห้ามไม่ให้มีกำลังทหารในระยะ ๒๕ กิโลเมตรจากแนวชายแดน จุดประสงค์ในการจัดตั้ง ตำรวจตระเวนชายแดน ในช่วงแรกคือ ป้องกันกองกำลังคอมมิวนิสต์ที่เข้ามารุกรานในประเทศ

ตชด.เป็นหน่วยที่มีคุณลักษณะสำคัญ ๓ ประการ

๑. สามารถปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างตำรวจ
๒. สามารถรบได้อย่างทหาร
๓. สามารถบริการประชาชนแทน กระทรวง ทะบวง กรมอื่นๆได้อย่างข้าราชการพลเรือน

ธงชัยประจำหน่วย

ตำรวจตระเวนชายแดนได้รับธงชัยประจำหน่วยตำรวจ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินในการพระราชพิธีตรีงหมุดธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจด้วยพระองค์เอง ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๙๕ ตำรวจตระเวนชายแดนได้รับธงชัยประจำหน่วยตำรวจ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินในการพระราชพิธีตรีงหมุดธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจด้วยพระองค์เองในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๙๕

ประวัติกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๒๔

จากในปี พ.ศ.๒๕๐๙ ทางกองบัญชาการตำรวจภูธร(ฝ่ายชายแดน) มีโคจะต้องจัดตั้งกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๘ ขึ้นในพื้นที่ถนนสายตะกั่วป่า-จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อปฏิบัติการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์และลาดตระเวนเส้นทาง เส้นเขตแดน โดยขออนุมัติจากกรมตำรวจและกระทรวงมหาดไทย ตามนโยบายการปราบปรามการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ทางกองบัญชาการตำรวจภูธร(ฝ่ายชายแดน) ได้สั่งการให้ พ.ต.ท.สงคราม ลิปีสุนทร ผู้กำกับการส่งกำลังบำรุงฝ่ายชายแดน และ พ.ต.ต.วิชัย วิชัยธนพัฒน์ ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๘ (ยศขณะนั้น)เป็นผู้ดำเนินการจัดหาที่ตั้งกองร้อยตำรวจ ตระเวนชายแดนที่ ๘ จึงได้ตกลงใจเลือกพื้นที่ ที่ตั้งกองร้อยในพื้นที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นที่สงวนของ ทางราชการและได้ขอใช้ที่ดินทางจังหวัดพังงาในการปลูกสร้างอาคาร กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๘ เนื้อที่ประมาณ ๓๐ ไร่ ทางจังหวัดได้อนุมัติตามหนังสือที่ พง.๑๙/๙๔๗๙ ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๐๙ ให้กองบัญชาการ
ตำรวจภูธร(ฝ่ายชายแดน) ใช้ที่ดินสงวนของทางราชการอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงาเป็นที่จัดสร้างอาคารกองร้อยตำรวจตระเวนชายที่ ๘ เมื่อได้รับอนุมัติแล้วทางกองบัญชาการตำรวจภูธร(ฝ่ายชายแดน)ได้เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ และแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๑๐ สถานที่ตั้งอยู่ที่พิกัด เอ็มเค.๒๖๕๗๘๕ มด.บ้านบางเต่า ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา แต่เนื่องจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๘ ขณะนั้นยังไม่มีกำลังที่เพียงพอในการปฏิบัติภารกิจ จึงได้ส่งกำลังตำรวจจำนวน ๑๐ นาย มาปฏิบัติหน้าที่เพื่อบำรุงรักษาอาคารกองร้อยมิให้ชำรุดทรุดโทรมไว้ก่อน เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๑๘ ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๘ ได้ส่งกำลังพลมาประจำที่กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๘ โดยมี ร.ต.ท.ประพันธ์ ศรีวาลัย เป็นผู้บังคับกองร้อย มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ประจำแผนก ๑-๔ และมีหมวดตำรวจตระเวนชายแดน ๑ หมวด เป็นกำลังหนุน พื้นที่รับผิดชอบ๒ จังหวัด คือจังหวัดพังงาและ จังหวัดภูเก็ต ตามพระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ.๒๕๒๙ ได้แบ่งส่วนราชการภายในกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๙ ได้เปลี่ยนชื่อจาก กองร้อยตำรวจตระเวนชายที่ ๘ เป็น กองร้อยตำรวจตระเวนชานแดนที่ ๔๒๔ จนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org/ธงประจำหน่วยตำรวจ